Brackets ตอนที่ 2 ติดตั้ง Extensions Git(อ่าน25572ครั้ง)
คราวที่แล้วติดตั้งตัวของ brackets editor ไปแล้ว พื้นฐานก็จะสามารถ coding ได้แล้วแบบสบาย เบา ๆ ไม่เปลือง memory เครื่อง เวลาเราจะสับเปลี่ยนโปรเจ็ค มันจะทำการ refresh ให้อัตโนมัติ ค่อนข้างดี แต่อาจจะมีข้อเสียตรงที่บางกรณีสำหรับคนที่เขียนบางทีไม่ได้จดจำ syntax มากนัก และชอบอ้างอิงกับโปรเจ็คเก่า ๆ อันนี้ก็ขยันสลับโปรเจ็คเอาหน่อย หรือไม่ก็คงเปิดไฟล์อีกหน้าต่างขึ้นมา
ที่นี้เรามาพูดถึงความสามารถอื่น ๆ ที่ brackets มีบ้าง เรียกได้ว่าก็มีกะเขาบ้างไม่ได้น้อยหน้า มีตั้งแต่ feature theme และเฉพาะส่วน ส่วนตัวมองว่าดีเพราะมันแยกเป็นส่วน ๆ เราอยากใช้อันไหน ก็ติดตั้งเพิ่มเติมเองได้ อันไหนไม่ใช้ หรือไม่เคยใช้ก็ไม่เอามาให้หนักการโหลดตอนเปิดโปรแกรม แต่มีข้อเสียตรงอัพเดตเวอร์ชั่นหนอ่ย เพราะเท่าที่ใช้งานดู จะอัพเดตต้องไปดาวน์โหลดมาใหม่ ติดตั้งใหม่ อัพเดตผ่านตัวมันเองไม่ได้ (ถ้าได้จะแจ่มมาก )
เอาล่ะ ตอนนี้ผมจะลองมาพูดถึง extensions ตัวหนึ่งที่ผมใช้งานบ่อยที่สุด แทบจะทุกครั้งหลังการ coding เสร็จ นั่นก็คือ Git ครับ ทาง brackets ก็มีให้เช่นกัน ลองติดตั้งดูครับ
ติดตั้ง Extension Git
1. เปิดโปรแกรมขึ้นมาก่อน
2. เลือกได้ 2 ทางคือ
- เลือกเมนู File -> Extension Manager..
- คลิกที่ขอบด้านขวามือ (หน้าตาเหมือนเลโก้ )
3. หน้าต่างของ extension ก็จะปรากฎขึ้นมา จะมีสองแทบด้วยกัน คือ Available (สามารถใช้งานได้) และ Installed (ที่ติดตั้งไปแล้ว) ก็ให้เราเลือกไปที่แทบ Available ที่นี้ล่ะรายการเยอะมาก ก็ให้ใช้การค้นหาจากช่อง search ด้วยการพิมพ์ไปว่า git เราก็จะได้รายการที่ใกล้เคียงมาให้
4. เราก็เลือกรายการที่คิดว่าใช่ที่สุด ในที่นี้ผมเลือกไปที่ Brackets Git ตรงขวามือของแต่ละรายการ จะมีปุ่ม Install เราก็คลิกตรงนี้เพื่อติดตั้งได้เลย
5. พอผ่านขบวนการติดตั้งเสร็จก็ให้กำหนดค่าต่าง ๆ ให้กับมัน ในที่นี้ผมเอาตาม default ไว้ก่อน แล้วจบด้วยการคลิกปุ่ม Save
6. เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ตัวของ Brackets ก็จะให้เรา restart ตัว editor เราก็ตอบตกลงไปด้วยการคลิกปุ่ม OK
7. restart เสร็จหน้าของรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงแต่ละเวอร์ชั่น ( changelog ) จะโผล่มาให้ดู อ่านเสร็จก็คลิกปุ่ม Close ไปเลย (ผมไม่ได้อ่านเลย กด Close อย่างไว)
8. และสิ่งที่เราจะได้มาก็คือปุ่ม toggle การใช้เปิดใช้งานด้านขวามือ ถ้าสถานะเปิดเราจะเห็น รายการเปลี่ยนแปลง จะ pull หรือ push ก็ใช้ส่วนนี้ครับ
ไว้ตอนหน้าจะมาลองเล่นการสร้างโค๊ด แล้วลอง commit pull push กันดูนะครับ
ปล.
เท่าที่ใช้งานมาหลาย ๆ ตัว เช่น github client , netbeans , git ตัว UI ของ extension ตัวนี้แจ่มสุด ส่วนตัวชอบมาก